๑๑ ส.ค. ๒๕๕๙ - คณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจราจาการค้าระหว่างประเทศที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ (NCITHS) ร่วมกับ แผนงานการพัฒนาศักยภาพด้านการค้าระหว่างประเทศกับสุขภาพ (ITH) ภายใต้มูลนิธิเพื่อการพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ และกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดการประชุมวิชาการ การค้าระหว่างประเทศและสุขภาพ ปี ๒๕๕๙ ระหว่างวันที่ ๘ – ๑๐ สิงหาคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรม ฮอลิเดย์อินน์ กรุงเทพ สีลม ในหัวข้อ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans Pacific Partnership Agreement) โดยการประชุมมีวัตถุประสงค์เพื่อ (๑) แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับ TPP และ ผลกระทบต่อการสาธารณสุขและระบบสุขภาพ (๒) เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาจใช้ประกอบในการพิจารณากําหนดประเด็นเจรจาภายใต้เงื่อนไข TPP ที่มีผลกระทบต่อระบบสุขภาพอย่างเชื่อมโยงกัน และ (๓) เพื่อให้ได้ข้อเสนอต่อนโยบายและ/หรือ มาตรการรองรับ ชดเชยเยียวยาผลกระทบต่อการสาธารณสุขและระบบ สุขภาพหากประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก TPP
ในวันแรกของการประชุมศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ร่วมด้วย นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ดร.Nima Asgari ผู้แทนจากองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย และ ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานคณะกรรมการ NCITHS ได้ให้เกียรติขึ้นกล่าวสุนทรพจน์เพื่อเปิดการประชุม โดยสำหรับวันแรกนี้มีการปาฐกถาพิเศษเรื่อง TPP โดยนายวินิจฉัย แจ่มแจ้ง ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ตลอดจนการนำเสนอและอภิปรายในประเด็นต่าง ๆ แบ่งเป็น ช่วงที่ ๑ ภาพรวมของ TPP: ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย และโอกาสเพื่อการปฏิรูป ช่วงที่ ๒ การประมาณการผลกระทบด้านเศรษฐกิจของ TPP ต่อประเทศไทย และ ช่วงที่ ๓ ประสบการณ์จากประเทศสมาชิก TPP และ/หรือ ประเทศอาเซียน: จากการเข้าร่วมการเจรจาตลอดจนการสรุปข้อตกลงและปฏิรูประบบ
ในวันที่สองของการประชุมมีการนำเสนอและอภิปรายทั้งหมดสี่ช่วง ได้แก่ ช่วงที่ ๔ ข้อบทที่มีผลกระทบโดยรวม และความเชื่อมโยง: ผลกระทบต่อระบบสุขภาพ ช่วงที่ ๕ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรพันธุกรรม การแพทย์แผนไทย ความหลากหลายทางชีวภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์: ประเทศไทยควรทำอย่างไร ช่วงที่ ๖ ยา วัคซีนและชีววัตถุ: ข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับ TPP ต่อระบบยาและระบบสุขภาพ และ ช่วงที่ ๗ เครื่องมือแพทย์: ข้อดีและข้อเสียของเครื่องมือแพทย์ปรับแต่งใหม่
ในวันที่สามของการประชุมซึ่งเป็นวันสุดท้าย มีการนำเสนอและอภิปรายในหัวข้อ เครื่องสำอางและอาหาร: การอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นในกระบวนการขออนุญาตขายและการใช้มาตรฐานระดับสากล เป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับประเทศไทยหรือไม่? และ ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: ข้อจำกัดการกำหนดฉลาก มาตรการที่คุ้มค่า และพื้นที่ในการกำหนดนโยบายและมาตรการ ซึ่งเป็นช่วงที่ ๘ และช่วงที่ ๙ ของการประชุมตามลำดับ จากนั้นได้มีการบรรยายหัวข้อพิเศษ ในเรื่อง ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก: ความท้าทายหรือโอกาสสำหรับประเทศไทย โดย ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และอดีตเลขาธิการอังค์ถัด ก่อนที่จะเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการประชุมซึ่งเป็นการนำเสนอข้อสรุป ข้อเสนอเชิงนโยบายต่อ TPP มาตรการเตรียมการ และงานวิจัยในอนาคตที่ได้จากการประชุม โดยนพ.สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ ประธานคณะกรรมการจัดประชุม ดร.นพ.ภูษิต ประคองสาย ผู้อำนวยการสำนักการสาธารณสุขระหว่างประเทศ และ ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา รักษาการในตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิด้านส่งเสริมสุขภาพ (นายแพทย์) (ด้านสาธารณสุข)
เอกสารนำเสนอ
ช่วงที่ ๑ ภาพรวมของ TPP: ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย และโอกาสเพื่อการปฏิรูป
ช่วงที่ ๒: ประมาณการผลกระทบด้านเศรษฐกิจของ TPP ต่อประเทศไทย
ช่วงที่ ๓: ประสบการณ์จากประเทศสมาชิก TPP และ/หรือ ประเทศอาเซียน: จากการเข้าร่วมการเจรจาตลอดจนการสรุปข้อตกลงและปฏิรูประบบ
ช่วงที่ ๔: ข้อบทที่มีผลกระทบโดยรวม และความเชื่อมโยง: ผลกระทบต่อระบบสุขภาพ
ช่วงที่ ๕: ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรพันธุกรรม การแพทย์แผนไทย ความหลากหลายทางชีวภาพและการแบ่งปันผลประโยชน์: ประเทศไทยควรทำอย่างไร
ช่วงที่ ๖: ยา วัคซีนและชีววัตถุ: ข้อห่วงกังวลเกี่ยวกับ TPP ต่อระบบยาและระบบสุขภาพ
ช่วงที่ ๗: ข้อดีและข้อเสียของเครื่องมือแพทย์ปรับแต่งใหม่
ช่วงที่ ๘: เครื่องสำอางและอาหาร: การอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นในกระบวนการขออนุญาตขายและการใช้มาตรฐานระดับสากล เป็นสิ่งที่ดีกว่าสำหรับประเทศไทยหรือไม่?
ช่วงที่ ๙: ยาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์: ข้อจำกัดการกำหนดฉลาก มาตรการที่คุ้มค่า และพื้นที่ในการกำหนดนโยบายและมาตรการ
View : (4046)
Today | This Month | Total | |||
38 | 4184 | 153402 |